ปฏิเสธไม่ได้เลยกับสื่อโซเชียลมีเดียในปัจจุบันที่ค่อนข้างมีอิทธิพลในการใช้ชีวิต เพราะเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้แก่เราเข้าถึงข่าวสารหรือช่องทางสื่อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้น นี่จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ผลิตมีการคิดค้นทีวีรูปแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งทุกคนคงจะคุ้นเคยในชื่อเรียกว่า สมาร์ททีวี (Smart TV) และ แอนดรอยด์ทีวี (Android TV) บางคนอาจจะแยก Smart TV และ Android TV ไม่ออกว่ามันต่างกันยังไงบ้าง เพราะมันก็ต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อดูคอนเทนต์ผ่านแอป YouTube, Netflix, iflix หรือจะเล่นเน็ตผ่านเว็บเบราว์เซอร์ก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าให้เจาะลึกลงไปแล้ว TV ทั้งสองแบบนี้ ยังมีอะไรที่ต่างกันอยู่
หลายอย่าง ดังนี้
1. Smart TV
Smart TV จะใช้ระบบปฏิบัติการ หรือ OS แยกตามแบรนด์ อย่างเช่น Samsung จะใช้ Tizen OS และ LG จะใช้ WebOS เป็นต้น ซึ่งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะมีแอปให้ดาวน์โหลดน้อยกว่า Android TV เนื่องจากต้องใช้แอปที่แบรนด์เป็นฝ่ายพัฒนาเอง แต่จะมีแอปยอดนิยมติดตั้งมาให้เลยอย่างเช่น YouTube, Netflix, Amazon Prime Video, iflix, Facebook ฯลฯ สำหรับแอปอื่นๆ ก็มีประมาณเกมแคชชวลเล่นง่ายๆ แก้เบื่อเท่านั้น ส่วนการเข้าเว็บไซต์จะเข้าผ่านเบราว์เซอร์ของตัว OS เอง ซึ่งความเสถียรหรือลูกเล่นต่างๆ จะไม่เหมือนกับการใช้งานผ่าน Google Chrome เป็นทีวีที่ต้องใช้การทำงานร่วมกับอินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชัน บางแบรนด์มีการรองรับระบบสัมผัส คำสั่งการด้วยเสียงผ่านรีโมทคอนโทรล และสามารถแชร์แสดงผลหน้าจอจากสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตขึ้นหน้าจอทีวีได้ แต่จะมีข้อเสียเล็กน้อยตรงที่จะสามารถโหลแอปพลิเคชันได้น้อยกว่า มักจะเป็นเพียงแค่แอพลิเคชันหลัก ๆ ที่ผู้คนนิยม เช่น YouTube, Netflix , Disney+ Hotstar , Apple TV หรือ Prime Video
สำหรับการใช้งานครั้งแรกก็ไม่มีอะไรซับซ้อนแค่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านสาย LAN หรือ WiFi ก็เริ่มต้นใช้งานได้เลย ไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้ยุ่งยาก หรือถ้ามีให้ลงทะเบียนก็สามารถข้ามไปได้ เพราะการใช้งานหลายๆ อย่างบน Smart TV ไม่ค่อยจำเป็นต้องมีการลงทะเบียนบัญชี (ยกเว้นแอปดูหนังที่ต้องเสียค่าบริการ)
Smart TV บางรุ่นสามารถสั่งการด้วยเสียงผ่านรีโมทคอนโทรล (ไม่ใช่ผู้ช่วยอัจฉริยะ Google Assistant แต่อาจเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะที่แบรนด์พัฒนาขึ้นเอง) สำหรับพิมพ์ชื่อคอนเทนต์ที่ต้องการในแอปต่างๆ ได้ นอกจากนี้ Smart TV มักจะมีฟีเจอร์แชร์การแสดงผลจากจอมือถือ หรือ PC ขึ้นหน้าจอ TV ได้ด้วย
แต่ข้อเสียของ Smart TV คือ การอัปเดต OS ที่นานๆ จะมาซักครั้งนึง รวมถึงการอัปเดตแอปต่างๆ ก็ไม่บ่อยเท่าแอปที่มีใน Android TV ซึ่งมักจะเกิดปัญหาเวลาแอปอย่าง YouTube หรือ Netflix สำหรับระบบ Android เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาให้แล้ว แต่แอปใน Smart TV จะใช้เวลานานมากกว่าจะมาให้ได้ใช้กัน
ข้อเสียอีกอย่างของ Smart TV คือ บาง OS ไม่รองรับการใช้งานคีย์บอร์ดภาษาไทย ซึ่งเป็นปัญหาสุดๆ เวลาใช้งานแอป YouTube แล้วไม่สามารถพิมพ์หาคลิปที่เป็นภาษาไทยได้เลย แถมยังดาวน์โหลดมาติดตั้งเพิ่มเติมก็ไม่ได้ด้วย
2. Android TV
เป็นระบบปฏิบัติการจาก Google ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้ระบบปฏิบัติการเชื่อมต่อกับ Play Store ของ Google จึงสามารถดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ จอยเกม นอกจากนี้ยังมาพร้อมรีโมทคอนโทรลที่มีไมโครโฟนสามารถสั่งการด้วยเสียงผ่าน Google Assistant ได้อีกด้วย
Android TV หลายๆ รุ่นจะมากับรีโมทคอนโทรลที่มีไมโครโฟนในตัว ทำให้สามารถสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Google Assistant ได้เลย ไม่ว่าจะสั่งให้เปิดแอป สั่งให้เล่นหนังเรื่องนี้จากแอปนี้ สั่งเล่นเพลงนี้จากแอปนี้ ก็คือทำได้เหมือนกับการใช้มือถือ Android นั่นเอง แถมยังล้ำสุดๆ ด้วยฟีเจอร์สั่งเปิด-ปิดเครื่องจากมือถือ หรือ Google Home จากระยะไกลได้อีก
Android TV ส่วนมากจะรองรับการใช้งานเมาส์, คีย์บอร์ด และคอนโทรลเลอร์เกม ทั้งแบบ Wireless และมีสายเสียบเข้ากับพอร์ต USB หรือจะเชื่อมแบบ Bluetooth ก็ได้ (หาก TV รองรับ)
Android TV บางรุ่นมีฟีเจอร์ Chromecast ติดมาเลย ทำให้สามารถ Cast หนังจาก Netflix หรือคลิปจาก YouTube ขึ้นไปที่หน้าจอ TV ในขณะที่มือถือก็ยังสามารถใช้งานอย่างอื่นต่อไปได้ ไม่เหมือนกับการใช้ฟีเจอร์ Smart Share ใน Smart TV ที่จะแสดงหน้าจอของมือถือขึ้นจอ TV โดยตรง
หน้าตา UI ของ Android TV และการใช้งานครั้งแรกของ Android TV อาจยุ่งยากไปหน่อยสำหรับมือใหม่ หรือคนที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่อง Smart Device เพราะต้องมีการลงทะเบียนและตั้งค่าพอสมควรกว่าจะใช้งานได้
3. สรุปข้อดีและข้อเสียของทั้ง 2 แบบ
3.1 ) Smart TV
ข้อดี
UI ใช้งานง่าย
ไม่ต้องตั้งค่าเยอะ
การทำงานโดยรวมลื่น ไม่ค่อยมีปัญหา
ข้อเสีย
แอปมีให้เลือกใช้น้อย
นานๆ ถึงจะมีการอัปเดทตัว OS หรือแอป 3.2) Android TV
ข้อดี
มีแอปให้โหลดเยอะ
ทั้งตัว OS และแอปได้รับการอัปเดตอยู่เรื่อยๆ
ใช้งานกับอุปกรณ์เสริม เช่น เมาส์ หรือคีย์บอร์ดได้
มี Google Assistant
สั่งเปิด-ปิด จากมือถือ หรือ Google Home ได้
ข้อเสีย
การตั้งค่าใช้งานครั้งแรกอาจยุ่งยากสำหรับมือใหม่ Android
หากเลือกซื้อรุ่นที่มีสเปคต่ำเกินไป การทำงานต่างๆ จะช้าจนน่าหงุดหงิด รู้อย่างงี้แล้วทุกคนคงพอแยกออกแล้วนะคะ ว่า ทีวีทั้ง 2 แบบนี้แตกต่างด้านการใช้งานกัน ยังไงบ้าง เลือกซื้อตามความต้องการใช้งานที่เหมาะกับ ไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้เลยค่า
Comments