จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง มาดูกัน!
1. หมั่นตรวจเช็กสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าและระบบต่าง ๆ ภายในบ้านอยู่เป็นประจำ หากพบเจอความเสียหายจะได้สามารถแก้ไขได้ทัน
2. เช็ดมือให้แห้งก่อนเปิด-ปิดสวิตช์ไฟ การแขวนผ้าเช็ดมือในห้องน้ำช่วยได้เยอะเลย
3. ติดตั้งสายดิน และเต้ารับ 3 รู ที่รองรับขาปลั๊ก 3 ขาได้ หากจะใช้ปลั๊กพ่วงก็ให้เลือกที่ได้มาตรฐานรับรอง และมี 3 รูเช่นเดียวกัน
4. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เก็บไว้นาน ๆ เมื่อจะนำมาใช้งาน อย่าลืมตรวจสอบสภาพการใช้งานให้เรียบร้อยก่อน เพราะการไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสื่อมสภาพ จึงควรตรวจสอบระยะเวลาการรับประกัน
5. ไม่ควรเปิดสวิตช์ปลั๊กไฟทิ้งไว้ข้ามคืน เพียงเพราะคิดว่าเดี๋ยวพรุ่งนี้ก็มาใช้งานอีก เพราะเป็นการปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลตลอดเวลา
6. จัดหาอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่ควรมีไว้เผื่อยามฉุกเฉิน เช่น เครื่องป้องกันไฟดูด หรือไขควงเช็กไฟรั่ว
7. การเสียบปลั๊กหรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรจับที่หัวเต้าเสียบเพื่อป้องกันการเกิดสายไฟขาดจากภายใน
8. ควรสอดส่องภายในบ้านและบริเวณโดยรอบของตัวบ้านว่ามีสิ่งกีดขวางบริเวณสายไฟหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น กิ่งไม้ที่เอนเอียงไปใกล้ หรือแม้แต่สัตว์ที่มาทำรังบริเวณหม้อแปลง หากพบเห็นให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าทันที
9. คอยแบ่งปันความรู้และข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าให้แก่สมาชิกในบ้านเพื่อความปลอดภัยของทุกคน
10. ให้ระลึกถึงเสมอว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากไม่ระมัดระวัง จึงไม่ควรประมาทและมีสติทุกครั้งขณะใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ
Comments